Exclusive Interview : สุรชัย รัศมี รองผู้จัดการรักษาการแทนผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

สุรชัย รัศมี
รองผู้จัดการรักษาการแทนผู้จัดการ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชนบท
เป็นเวลากว่า 54 ปี ที่ธ.ก.ส. ได้มุ่งมั่นดูแล ช่วยเหลือ
เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร
ของไทยในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม
รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรหรือครอบครัวของเกษตรกร
โดยในการก้าวสู่ปีที่
55ของธ.ก.ส.สุรชัย
รัศมี รองผู้จัดการรักษาการแทนผู้จัดการให้สัมภาษณ์พิเศษ การเงินธนาคาร
ว่าธ.ก.ส.ยังคงยืนหยัดเคียงข้างเกษตรกรในการก้าวข้ามวิกฤติเศรษฐกิจ
พร้อมขับเคลื่อนภารกิจต่างๆ ไปสู่เป้าหมายในการสร้าง Better Life Better Community Better
Prideคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนที่ดี สร้างรากฐานที่เข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจ
สังคม สิ่งแวดล้อมของประเทศ
“ธ.ก.ส.เป็นสถาบันการเงินที่อยู่เคียงข้างเกษตรการมาอย่างยาวนาน
ก้าวเข้าสู่ปีที่ 55เรายังคงมุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่
เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท”
Road Map ระยะ
5 ปี
สู่ธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน
สุรชัยกล่าวว่า
ในปี 2563
เป็นปีที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ภัยแล้งรวมถึงอุทกภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
COVID-19ซึ่ง
ธ.ก.ส.และรัฐบาลได้เข้าไปดูแลลูกค้าและเกษตรกรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นเช่น
มาตรการช่วยเหลือด้านภาระหนี้สินเช่นการพักชำระหนี้ และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
โดยณ 22 ตุลาคม 2563 มีเกษตรกรลูกค้า สหกรณ์
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้รับประโยชน์จากมาตรการช่วยเหลือด้านภาระหนี้สิน จำนวนกว่า 3.25
ล้านราย จากลูกค้าเดิมจำนวน 6.14
ล้านราย วงเงินพักชำระหนี้กว่า 1.45
ล้านล้านบาท
“ในปี
2563
ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้านไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วม
และการระบาดของ COVID-19
อย่างไรก็ตามคาดว่าภาคการเกษตรของไทยในปีนี้จะหดตัวน้อยกว่าค่าเฉลี่ยจีดีพีของประเทศเนื่องจากยังมีสินค้าเกษตรบางกลุ่มที่ราคาดีขึ้นรวมถึงมีมีตราการเยียวยาจากทั้งธ.ก.ส.
และรัฐบาล”
ดังนั้นในปี 2564 จึงเป็นปีแห่งการฟื้นฟูโดยธ.ก.ส.
ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล ทำหน้าที่เป็นกลไกให้ความช่วยเหลือเกษตรกร
ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการฟื้นฟู เยียวยาเกษตรกรและครัวเรือน
มุ่งให้ความช่วยเหลือลูกค้าและหุ้นส่วนสำคัญ โดยมี Road Map การทำงานแบ่งเป็น 3
ระยะ
ระยะที่หนึ่ง ปีบัญชี 2564-2565
เป็นปีที่มุ่งเน้นในการวางรากฐานให้แข็งแกร่งมั่นคง
เพื่อเข้าไปฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานราก จะทำการพัฒนาใน 3
ด้าน ได้แก่
1. การพัฒนาเกษตรกรรายคน
โดยมุ่งปรับโครงสร้างธุรกิจให้กับลูกค้าซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้เข้าไปพบลูกค้าทุกรายเพื่อตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้ที่แท้จริงพร้อมส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านอาชีพและการดำเนินธุรกิจให้เกษตรกรตลอดจนเสนอเครื่องมือการบริหารจัดการและสนับสนุนการฟื้นฟูการประกอบอาชีพ
เน้นสร้างความเข้มแข็งครัวเรือนเกษตรโดยบริหารสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ของเกษตรกรให้เหมาะสม
“ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาพนักงาน
ธ.ก.ส. ได้เริ่มออกไปพูดคุยลูกค้าแต่ละรายที่ร่วมมาตรการพักหนี้ โดยตรวจสุขภาพทรัพย์สิน
หนี้สิน รายได้ รายจ่าย แล้วจัดเกณฑ์ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
นำเครื่องมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปใช้ให้เหมาะกับแต่ละคน
และปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจ ไม่ใช่การทำแผนเดียวแล้วไปให้กับทุกคน
แต่ปรับให้เหมาะสมกับแต่ละคน”
รวมถึงยังต้องการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ (Smart Farmer) ทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่
(Young Smart Farmer) คนรุ่นใหม่ที่สนใจการเกษตร
(New Gen) เพื่อเพิ่มเติมหรือทดแทนลูกค้าเดิมที่สูงอายุและยกระดับให้เป็นผู้ประกอบการภาคการเกษตรหรือหัวขบวนเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาด
นอกจากนี้ยังสนับสนุนการเกษตรมูลค่าสูง เช่น
การผลิตแบบอินทรีย์ หรือเกษตรปลอกภัย
การใช้แนวทางตามหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการปรับเปลี่ยนการผลิตโดยปัจจุบันธ.ก.ส.
ได้มีการประสานกับห้างสรรพสินค้าเพื่อนำสินค้าที่ได้รับการยกระดับเป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูงกระจายตามห้างเหล่านั้นเพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกร
2. การพัฒนาเกษตรกรและชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยมุ่งสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการพัฒนา
เพื่อให้เกิดการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจฐานรากที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนในชุมชนทั้งในกิจกรรมการผลิต
กิจกรรมการซื้อขายผลผลิต การแปรรูป
และการบริโภคของคนในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมโดยใช้ทรัพยากรของชุมชน
มีการแบ่งผลประโยชน์อย่างเกื้อกูลและเป็นธรรม
เพื่อทำให้เกิดความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงส่งเสริมการทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาชนบท
3. การพัฒนาองค์กรโดยธ.ก.ส.ยังมุ่งดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ยึดหลักธนาคารเพื่อความยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ส่งเสริมให้องค์กรมีความมั่นคง พร้อมสนองนโยบายของรัฐได้อย่างเต็มที่ และตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครอบคลุม มุ่งสู่องค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง โดยกำหนดการพัฒนาใน 3 ด้าน ได้แก่
- Human Resource การยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร
- Process เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และ
- Data พัฒนาฐานข้อมูลรองรับต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร
ขณะที่ ธ.ก.ส. ยังคงยึดมั่นในอัตลักษณ์ที่เรียกว่า SPARK ซึ่งได้แก่
- Sustainability (S) ความยั่งยืนทั้งองค์กร พนักงาน ลูกค้า ชุมชน เครือข่าย ผู้ถือหุ้น สังคม และสิ่งแวดล้อม
- Participation (P) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- Accountability (A) ความสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการและพนักงาน
- Respect (R) ความเคารพและให้เกียรติต่อตนเองและผู้อื่น
- Knowledge (K) การส่งเสริม
และยกระดับการนำความรู้สู่นวัตกรรมให้เป็นธนาคารแห่งการเรียนรู้
และนำนวัตกรรมไปช่วยยกระดับรายได้ของเกษตรกร
“พนักงานธ.ก.ส
ไม่เคยถูกว่ากล่าวหรือตำหนิในเรื่องความซื่อสัตย์
เนื่องจากเราทำงานตามอัตลักษณ์ของเราอย่างเข้มข้น
และในอนาคตพนักงานของเรานอกจากจะดูแลลูกค้าแล้วจะต้องเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับลูกค้าได้”
ระยะที่สอง ปีบัญชี 2566
พัฒนาต่อยอดสู่การเป็นศูนย์กลางทางการเงินภาคเกษตรและภาคชนบทแบบครบวงจร
ด้วยบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการตลอดห่วงโซ่ภาคการเกษตร (Rural Universal Bank)
ระยะที่สาม ปีบัญชี 2567-2568
เป็นต้นแบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจภาคเกษตรของประเทศและระดับอาเซียน
ซึ่งจะทำให้ธ.ก.ส. ก้าวสู่การเป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่นั่งยืนได้ตามความประสงค์ Sustainable Rural Development Bank
เดินหน้าบริการดิจิทัล
พัฒนาองค์กร-ลูกค้าไปพร้อมกัน
สุรชัยกล่าวว่า
ในช่วงวิกฤติที่เกิดขึ้นถือเป็นโอกาสของ ธ.ก.ส. และเกษตรกรลูกค้าในการปรับเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
รวมถึงการสื่อสารข้อมูลต่างๆ
เพี่อช่วยสร้างความสะดวกรวดเร็วตลอดจนส่งเสริมให้ลูกค้านำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้เป็น
Smart Farmer
โดยในปี 2563 ธนาคารเปิดให้บริการยื่นความประสงค์ขอสินเชื่อผ่านช่องทาง
Line Official : BAAC
Family โดยบริการดิจิทัลที่ธ.ก.ส.
ได้เริ่มดำเนินการแล้ว ได้แก่
1. ร้านค้าน้องหอมจัง
ซึ่งให้บริการชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน QR Code รวมถึงการให้บริการชำระผ่าน QR Code อาลีเพย์
(Alipay) เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีน
จำนวน 20,360
ร้านค้า และจะขยายจุดให้บริการในสถานที่ท่องเทียวเพิ่มมากขึ้นในปี 2564
2. ผลิตภัณฑ์และบริการที่เปิดให้ยื่นความประสงค์ขอสินเชื่อผ่านช่องทาง Line Official : BAAC Family ประกอบด้วย
2
ผลิตภัณฑ์
1) โครงการสินเชื่อ
New Gen Hug บ้านเกิดสำหรับค่าใช้จ่ายหมุนเวียนวงเงินกู้ไม่เกิน
60%
ของรายได้ส่วนเหลือเพื่อขายชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 0%ในเดือนที่
1-3
ตั้งแต่เดือนที่ 4
อัตราดอกเบี้ย MRRและค่าลงทุนวงเงินกู้ไม่เกิน
80%
ของค่าลงทุน (โดยต้องมีเงินสมทบไม่น้อยกว่า 20% ของค่าลงทุนทั้งหมด)ชำระคืนไม่เกิน 10 ปี
อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3คิดอัตราดอกเบี้ย
4%ต่อปี
ตั้งแต่ปีที่ 4
เป็นต้นไปอัตราดอกเบี้ย MRR
2) โครงการสินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพวงเงินกู้
ไม่เกินรายละ 50,000
บาท ชำระคืนไม่เกิน 12
เดือน อัตราดอกเบี้ย 0%ในเดือนที่
1-3
ตั้งแต่เดือนที่ 4
อัตราดอกเบี้ย MRR
นอกจากนี้ ธ.ก.ส.
ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับพนักงานในการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าเพื่อเพิ่มความสะดวกให้ทั้งลูกค้าและพนักงานและเพื่อให้สามารถประเมินลูกค้าได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น
สุรชัยกล่าวว่า
ในช่วงที่ผ่านมามีลูกค้าใช้บริการดิจิทัลของธนาคารอย่างต่อเนื่อง
โดยปัจจุบันมียอดสมาชิกLine
Official : BAAC Familyจำนวน 4,710,906 ราย มีลูกค้ายื่นความประสงค์ขอสินเชื่อ รวม 2,568,721
ราย คิดเป็นร้อยละ 54.52
ของสมาชิก
โดยในปี 2564 ธนาคารจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
และพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารได้ง่าย
และสะดวกมากขึ้น ผ่านช่องทาง Line
Official : BAAC Family และช่องทางอื่นๆทั้งนี้การพัฒนาบริการดิจิทัลของ
ธ.ก.สจะเน้นความสะดวกต่อผู้ใช้ (User
Friendly) เป็นหลักซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ของธ.ก.ส.
เป็นเกษตรกร ดังนั้นแอปพลิเคชั่นต่างๆ อาจะไม่ได้มีความทันสมัยมากนัก
“ในปี 2564 ธ.ก.ส.จะเดินหน้าเยียวยาลูกค้าอย่างเต็มรูปแบบโดยเพิ่มบริการดิจิทัลเข้ามามีส่วนช่วยในการเพิ่มความสะดวก และยังยืนยันว่าธนาคารยังมีความมั่นโดยมีความพร้อมในการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือลูกค้าโดยเฉพาะภาคชนบท”
ติดตามคอลัมน์ Exclusive Interview ได้ในวารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนมกราคม 2564 ฉบับที่ 465 บนแผงหนังสือชั้นนำทั้่วประเทศและในรูปแบบดิจิทัล : https://goo.gl/U6OnIi