รางวัลเกียรติยศ กองทุนยอดเยี่ยม แห่งปี 2564 Best Mutual Fund of the Year 2021 บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
รางวัลเกียรติยศ กองทุนยอดเยี่ยม แห่งปี 2564 Best Mutual Fund of the Year 2021 กองทุนเปิดกรุงไทย พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซิเบิ้ล ชนิดจ่ายเงินปันผล (KT-PIF-D) กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ บอนด์ ฟันด์ (KT-BOND)
รางวัลเกียรติยศ กองทุนยอดเยี่ยม แห่งปี 2564
Best Mutual Fund of the Year 2021
กองทุนเปิดกรุงไทย พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์
อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซิเบิ้ล
ชนิดจ่ายเงินปันผล (KT-PIF-D)
กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ บอนด์ ฟันด์ (KT-BOND)
กรรมการผู้จัดการ
บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย
จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM ได้รับรางวัลกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี
2564 จำนวน 2 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลประเภทกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศจากกองทุนเปิดเคแทม
เวิลด์ บอนด์ ฟันด์ (KT-BOND)
และประเภทกองทุนอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน
จากกองทุนเปิดกรุงไทย พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซิเบิ้ล
ชนิดจ่ายเงินปันผล (KT-PIF-D)
ชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ
บลจ.กรุงไทย กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้รับรางวัลเกียรติยศในครั้งนี้ว่า
รู้สึกดีใจเป็นอย่างมาก เพราะรางวัลนี้เปรียบเสมือนขวัญและกำลังใจให้กับทีมงาน KTAM รวมถึงเป็นเครื่องพิสูจน์ให้กับนักลงทุนว่า
KTAM สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดี
น่าสนใจ และมีคุณภาพ กลับไปสู่นักลงทุน นอกจากนั้น
บริษัทยังใช้มาตรฐานนี้ในการทำงานและบริหารจัดการกองทุนเพื่อให้ตอบโจทย์แก่นักลงทุนให้ได้มากที่สุดในโอกาสต่อไป
มีวินัยเพื่อสร้างผลกำไรที่สม่ำเสมอ
ชวินดากล่าวว่า สิ่งที่สำคัญในการบริหารกองทุน
คือการเลือกกองทุนต้นทางที่ดี สำหรับกองทุน KT-BOND ลงทุนผ่านกองทุนหลัก PIMCO ซึ่งเป็น
บลจ.ที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี สิ่งที่โดดเด่นของกองทุนนี้คือ
มีการกระจายการลงทุนได้อย่างสมดุล และให้ความสำคัญกับ Credit Risk รวมถึง
นโยบายการลงทุนของกองทุนหลักเพื่อสร้างผลตอบแทนรวม (Total Return) ให้ได้มากที่สุด
และสอดคล้องกับการรักษาเงินต้นและการบริหารเงินลงทุนอย่างรอบคอบ
กองทุนจะลงทุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของสินทรัพย์ของกองทุน
โดยการกระจายพอร์ตการลงทุนในตราสารหนี้
ในสกุลเงินหลักของโลกที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่สามารถลงทุนได้
แต่อาจจะลงทุนไม่เกินร้อยละ 10 ของสินทรัพย์ของกองทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับ
BBB แต่จะต้องมีอันดับความน่าเชื่อถืออย่างน้อยในระดับ
B โดย
S&P
“กองทุนมีการกระจายการลงทุนที่ดี
ลงทุนในทุกภูมิภาคของโลก ไม่ยึดติดกับภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง
ทำให้ผลตอบแทนที่แตกต่างของแต่ละภูมิภาคเกิดการถัวเฉลี่ย
และออกมาเป็นผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจแก่นักลงทุนเฉลี่ยเกือบ 4% ต่อปี ตลอดช่วง 3
ปีที่ผ่านมา”
สำหรับกองทุน KT-PIF-D มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์
และ/หรือโครงสร้างพื้นฐาน
รวมถึงอยู่ระหว่างการกระจายการถือหน่วยลงทุนหรือเปิดเสนอขายครั้งแรก
โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
กองทุน KT-PIF-D มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่เกินปีละ 4
ครั้งนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนในปี 2559 ได้จ่ายมาแล้วทั้งหมด 12 ครั้ง
จำนวนเงินปันผลรวม 3.1000 บาทต่อหน่วย ขณะที่กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีที่
3.17 % ต่อปี และย้อนหลัง 5 ปีที่ 4.43 % ต่อปี (สิ้นสุด ณ วันที่ 31 สิงหาคม
2564)
ชวินดากล่าวว่า
เรื่องสำคัญที่สุดในการบริหารจัดการกองทุนนั้น หนีไม่พ้นคำว่า “วินัย” เพราะหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการกองทุนคือ
ความสม่ำเสมอของผลตอบแทน สิ่งสำคัญที่จะทำให้การบริหารจัดการประสบความสำเร็จได้คือ
วินัยในการเฝ้าติดตามความเป็นไปของตลาดได้ตลอดเวลา
ผู้จัดการกองทุนก็ต้องบริหารให้เป็นไปตามเงื่อนไขต่างๆ
ของกองทุนที่ดูแลให้ดีที่สุด แน่นอนว่า ในบางครั้งย่อมมีความเสียหายเกิดขึ้นบ้าง
แต่ความมีวินัยจะสามารถทำให้การบริหารจัดการกองทุนมีความยืดหยุ่น
และมีความเป็นพลวัต สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันตามสถานการณ์ของตลาดอยู่เสมอ
เมื่อเกิดปัญหาก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที
“โลกการเงินนั้นเป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว
ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร สภาพเศรษฐกิจ
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการบริหารกองทุนทั้งสิ้น ดังนั้น
การมีวินัยและติดตาม (หมายถึง การ Monitor)
อย่างใกล้ชิดจะทำให้เราเห็นภาพรวมของตลาดได้เร็ว
และปรับเปลี่ยนการบริหารให้เป็นปัจจุบันได้อยู่เสมอ”
เตรียมเจาะตลาดคนรุ่นใหม่
ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย
ชวินดา กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของ KTAM นั้นจะต้อง
มีปณิธานในการสรรหาสิ่งดีๆ มาเติมเต็มโลกการเงินที่มีการหมุนเวียนตลอดเวลา KTAM ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมออกมาตอบโจทย์ต่อทุกสภาพตลาดในโลกการเงินเพื่อสนองความต้องการที่หลากหลายแก่นักลงทุน
ทำให้ในช่วงที่ผ่านมานั้น
บริษัทมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์มานำเสนอนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงในอนาคตก็ยังคงมีแผนที่จะออกกองทุนที่ตอบรับกับตลาดและความต้องการตามปัจจัยใหม่ๆ
ที่เกิดขึ้นทั่วโลก
หรือแม้แต่ปรับเปลี่ยนไปตามทเทรนด์การลงทุนที่น่าจับตามองในทุกๆ ปี
เช่นเดียวกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ที่มีการพัฒนาและสร้างสรรค์กองทุนใหม่ๆ
ออกมานำเสนอแก่นักลงทุนในช่วงสิ้นปีเช่นกัน
อีกส่วนที่ทาง KTAM มองไว้ในอนาคตคือการเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่
ซึ่งโจทย์ที่คนรุ่นใหม่มอบให้แก่ KTAM
นั้นก็จะมีความแตกต่างจากนักลงทุนที่เป็นคนวัยทำงานหรือวัยใกล้เกษียณ
ดังนั้น จึงต้องตีโจทย์ให้ได้ว่าคนรุ่นใหม่นั้นชอบอะไร
เทคโนโลยีแบบไหนที่กำลังพาคนกลุ่มนี้เข้าไปลงทุน เพราะคนรุ่นใหม่จะเป็นฐานการลงทุนในอนาคตของประเทศ
คนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับเรื่องเทคโนโลยี
กองทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีก็อาจจะตรงใจเพราะทำความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ได้ง่าย
ซึ่งสิ่งที่เราจะมอบให้แก่คนกลุ่มนี้
คือความเข้าใจในการลงทุนที่เรียกได้ว่าสัมผัสได้ในชีวิตประจำวันของเค้า
มุมมองเศรษฐกิจในอนาคตตามแบบของ KTAM ต้องดูอะไรบ้าง?
ชวินดาเสริมว่า
ปัจจุบันตลาดนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาสิ่งที่เคยมองว่าเพียงพอ
อนาคตอาจจะไม่พอก็ได้ ดังนั้น แม้ว่า KTAM จะลงทุนในกองทุนที่หลากหลายทั่วโลก
แต่ก็เชื่อว่าวันหนึ่งจะต้องมีประเทศหรือตลาดที่เติบโตขึ้นมาอีก
เพื่อให้ครอบคลุมทุกโอกาสการลงทุนในอนาคตซึ่งการให้น้ำหนักการลงทุนนั้นก็ต้องแปรผันไปตามสถานการณ์ด้วยเช่นกัน
ส่วนการประเมินสถานการณ์ในอนาคต KTAM มองว่า
ระยะยาวตลาดเอเชียยังน่าสนใจเพราะตลาดในภูมิภาคนี้นั้นเปรียบได้กับผู้ผลิตของโลก
จึงยังมีความสำคัญที่จะให้น้ำหนักการลงทุนต่อไป แต่ในขณะเดียวกันก็ละเลยตลาดอื่นๆ
ไม่ได้ ยังคงต้องติดตามต่อเนื่อง อย่างเช่นตลาดยุโรป
มีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคจำนวนมาก
ในเรื่องของสภาพเศรษฐกิจ ต้องยอมรับว่าหลายๆ
ประเทศตอนนี้รวมถึงไทยด้วยยังเปิดประเทศให้เงินไหลกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเดิมไม่ได้
ดังนั้น สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาสำหรับเศรษฐกิจ ณ
ปัจจุบันไม่ใช่แค่เรื่องวัคซีนอีกต่อไปแล้ว
แต่ต้องพิจารณาถึงระยะเวลาหลังฉีดวัคซีนได้ครบแล้วด้วยว่า
ใช้เวลาเท่าไรถึงจะเปิดประเทศได้ครบทุกประเทศ โดยไทยเองก็ได้บทเรียนจากเรื่องนี้แล้วด้วย
เพราะถึงแม้ว่าไทยจะเปิดประเทศก็ไม่ได้หมายความว่าประชากรจากประเทศอื่นจะสามารถเดินทางมาไทยได้
“สำหรับปีหน้า
เราเชื่อว่าหลายประเทศในโลกจะเริ่มมองโควิด-19
เป็นโรคปกติเช่นเดียวกับไข้หวัดอื่นๆ ในปี 2565 ที่จะถึง
เราจึงเชื่อว่าไม่มากก็น้อยทิศทางเศรษฐกิจจะต้องดีขึ้น
และหลายประเทศก็จะเริ่มปรับตัวเข้าหาสภาวะเศรษฐกิจแบบปกติ
ถ้าเศรษฐกิจสามารถดำเนินได้ ทุกอย่างก็จะกลับสู่ภาวะปกติ”
ชวินดาเสริมในตอนท้ายว่า
หากสภาพเศรษฐกิจปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติได้เร็วนั้น
แม้จะฟังดูเหมือนเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่เช่นกัน
เพราะสิ่งที่เคยเติบโตจากอานิสงส์โควิด-19 ก็อาจเกิดภาวะชะลอตัวลงได้ด้วย
โดยเฉพาะฝั่งของเทคโนโลยีที่ปัจจุบันนั้นเติบโตได้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ
ดังนั้น
เทคโนโลยีในอนาคตอาจจะไม่ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดเหมือนที่ผ่านมา
แต่จะเติบโตในลักษณะของการควบคู่ไปกับการใช้ชีวิตของมนุษย์แทน เช่น
การซื้อของออนไลน์ การประชุมหรือการจัดกิจกรรมต่างๆ แบบออนไลน์
จะกลายเป็นเรื่องคุ้นชินที่คนในยุคต่อๆ ไปมองเป็นเรื่องปกติ
สิ่งที่อาจจะเติบโตมาควบคู่กับเทคโนโลยี
คือธุรกิจที่สะท้อนความเป็นจริงเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของคนในยุคของคนเราในปัจจุบัน
นั่นเอง
รางวัลที่ได้รับเปรียบเสมือนขวัญและกำลังใจให้กับทีมงาน KTAM รวมถึงเป็นเครื่องพิสูจน์ให้กับนักลงทุนว่า KTAM สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดี น่าสนใจ และมีคุณภาพกลับไปสู่นักลงทุนนอกจากนั้น บริษัทยังใช้มาตรฐานนี้ในการทำงานและบริหารจัดการกองทุนเพื่อตอบโจทย์แก่นักลงทุนให้ได้มากที่สุดในโอกาสต่อไป