ผลสำรวจทิศทาง ราคาทองคำ 22-26 เม.ย.67 ผู้เชี่ยวชาญ-นักลงทุน คาดราคาพุ่งต่อ

473
ราคาทองวันนี้ ราคาทองรูปพรรณ

ศูนย์วิจัยทองคำ เปิดผลสำรวจทิศทาง “ราคาทองคำ” 22-26 เม.ย.67 ผู้เชี่ยวชาญ-นักลงทุน คาดราคาพุ่งต่อ จับตาสถานการณ์ตะวันออกกลาง ผลประชุม BOJ

ศูนย์วิจัยทองคำ เปิดผลสำรวจมุมมองต่อทิศทางราคาทองคำในประเทศรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 22-26 เม.ย.67 จากการสำรวจ GRC Gold Survey พบว่า 14 ผู้เชี่ยวชาญในตลาดทองคำที่ได้มีส่วนร่วมตอบแบบสำรวจ ในจำนวนนี้มี 6 ราย หรือเทียบเป็น 43% คาดว่าราคาทองคำในสัปดาห์หน้าจะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 3 ราย หรือเทียบเป็น 21% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 5 ราย หรือเทียบเป็น 36% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับนักลงทุนทองคำ ได้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ จำนวน 355 ราย ในจำนวนนี้มี 270 ราย หรือเทียบเป็น 76% คาดว่าราคาทองคำในประเทศของสัปดาห์หน้าจะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 56 ราย หรือเทียบเป็น 16% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 29 ราย หรือเทียบเป็น 8% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โดยสถานการณ์ ราคาทองคำ นั้น

ราคาทองคำแท่งในประเทศ 96.5% ตามประกาศ สมาคมค้าทองคำ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 41,000 – 42,000 บาท ต่อบาททองคำ โดยราคาทองคำปิดอยู่ที่ระดับ 41,700 บาท ต่อบาททองคำ เพิ่มขึ้น 950 เมื่อเปรียบเทียบกับราคาปิดของสัปดาห์ก่อนหน้า (สัปดาห์ก่อนหน้าปิดที่ 40,750 บาท)

ทั้งนี้ปัจจัยที่ต้องติดตามดังนี้

  1. สถานการณ์ในตะวันออกกลาง ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาทองคำทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง จากความวิตกเกี่ยวกับการโจมตีตอบโต้ระหว่างอิหร่าน และอิสราเอล ได้กระตุ้นแรงซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย
  2. การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดการณ์ว่า BOJ จะเดินหน้าปรับลดการกระตุ้นด้านการเงิน หากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นเคลื่อนตัวใกล้ระดับ 2% ตามที่ BOJ คาดการณ์ไว้ ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวนับเป็นการส่งสัญญาณว่า BOJ อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้
  3. รายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่
    • ยอดขายบ้านใหม่
    • ยอดขายบ้านที่รอปิดการขายของเดือน มีนาคม 2567
    • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต และ ภาคการบริการขั้นต้น เดือน เมษายน 2567 จากเอสแอนด์พี โกลบอล
    • รายงานตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์
    • การประมาณการเบื้องต้น GDP ไตรมาส 1/2567 รวมถึงดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) โดยดัชนีดังกล่าวเป็นข้อมูลเงินเฟ้อสำคัญตัวสุดท้ายก่อนที่ FED จะจัดการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง